Categories
บทความ โดย ศจ. ธงชัย

ความขมขื่นคืออะไร (คอลัมน์คำตอบชีวิต)

คำถาม:    “ความขมขื่นคืออะไร มันเกิดจากอะไร มีตัวอย่างในพระคัมภีร์หรือไม่?

                  แล้วเราจะจัดการหรือเอาชนะมันได้อย่างไร?

คำตอบ:     “ความขมขื่น” (bitterness) คือ “ความรู้สึกหรือพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาเป็นความโกรธ ความเจ็บปวด ความขุ่นเคืองใจ เพราะประสบกับประสบการณ์ที่แย่ หรือ เมื่อได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ( angry, hurt, or resentful because of one’s bad experiences or a sense of unjust treatment.)

ในพระคัมภีร์ มีตัวอย่างและสาเหตุของความขมขื่นใจ ไว้มากมาย อาทิ สาเหตุที่ทำให้ขมขื่นใจ เพราะ

  1. ถูกปองร้าย หรือถูกทำร้ายด้วยคำพูดหรือการกระทำ    ~สดุดี 64:1-4 THSV11  ~สดุดี 106:24-33 THSV11
  2. ถูกทำให้ผิดหวัง     ~สุภาษิต 17:25 THSV11
  3. ถูกทอดทิ้ง    ~เพลงคร่ำครวญ 3:4-6 THSV11
  4. ถูกเล่นงานโดยไม่มีเหตุและต่อต้านขัดขืนก็ไม่ได้      ~โยบ 9:16-20 THSV11
  5. เบื่อหน่ายที่ถูกกล่าวโทษถูกจับผิด    ~ โยบ 10:1-8 THSV11
  6. ทนทุกข์เพราะผลกรรมบาปที่ได้ทำมานั้นตอบสนอง ~เยเรมีย์ 4:16-18 THSV11
  7. ไม่ได้รับ หรือไม่ได้ชิมของดี เหมือนคนอื่นเลยๆ ~โยบ 21:23-25 THSV11
  8. สูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิที่ควรเป็นส่วนของตน ~ปฐมกาล 27:32-35 THSV11
  9. ถูกบีบบังคับให้ทำสิ่งที่หนัก เหนื่อย และยากลำบาก   ~อพยพ 1:8-14 THSV11
  10. สูญเสียบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รักไป(จนหมดสิ้น) ~นางรูธ 1:20; 1:13 THSV11
  11. รู้สึกเสียใจกับความผิดพลาดเสียหายที่เกิดจากตัวเองเป็นต้นเหตุ ~เอสเธอร์ 4:1-3 THSV11
  12. รู้ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้น โดยที่ไม่อาจหลบเลี่ยงได้เลย  ~เยเรมีย์ 6:24-26 THSV11
  13. ถูก(เพื่อน)ทรยศ และไม่มีใครปลอบโยน ~เพลงคร่ำครวญ 1:2 THSV11

คำถาม:   “แล้วเราจะรับมือหรือจัดการกับความขมขื่นที่เกิดขึ้นกับเราได้อย่างไร?”

คำตอบ:  

  1. ถ้าความขมขื่นใจเกิดมาจากตัวเราเป็นต้นเหตุ ก็ให้เราสำนึกผิดเสียใจกับสิ่งที่ทำมา และขอการอภัยจาก    1)พระเจ้า   2).คู่กรณี   ~แล้วจบความขมขื่นใจลง
  2. ถ้าความขมขื่นใจเกิดมาจากผู้อื่นเป็นต้นเหตุก็ให้เรายกโทษให้เขา   1).ขั้นแรก อภัยให้เขาตั้งแต่ก่อนเขาสำนึกผิด เพื่อตัวเราเองจะได้ หลุดพ้นจากคุกแห่งความขมขื่น แล้วไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้     ~จบความขมขื่นใจลง  2).ขั้นที่สอง อภัยให้เขาเมื่อเขาสำนึกผิด เพื่อเขาจะได้หลุดจากหล่มแห่งความขมขื่นเพราะความผิดพลาดที่ตัวเขาได้ทำไป ทั้งโดย  ก.เจตนา    ข.ไม่เจตนา    ~จบความขมขื่นใจลง
  3. ขั้นที่สาม หากคนที่ทำผิด(ในความคิดของเรา)ไม่ได้แสดงความรู้สึกผิดออกมาเลย ก็อย่าปล่อยให้ความขมขื่นใจครอบงำเรา ให้เรามองในแง่บวกหรือสร้างสรรค์ว่า  ก.เขาอาจ ไม่รู้ตัวจริงๆ ว่าเขาได้ทำสิ่งที่สร้างความขมขื่นใจแก่คนอื่นอยู่ในเวลานี้ ข.เขาอาจรู้ตัวว่าเขาได้ทำบางอย่างผิด แต่คงคิดว่าตัวเขาไม่ใช่คนเดียวที่ผิด ดังนั้นจึงไม่ใช่เขาคนเดียวที่ต้องยอมรับผิดและขอโทษ เขาจึงรอให้อีกฝ่าย(ซึ่งก็คือตัวเรา)ให้เป็นฝ่ายขอโทษก่อนเช่นกันหากว่านี่คือเหตุผลที่เรารู้ เราก็รีบไปเคลียร์กับเขาด้วยความถ่อมใจในทันทีตามขั้นตอนที่ พระเยซูคริสต์ให้ไว้ใน พระธรรม มัทธิวบทที่18
  • ก) เราไปหาเขาสองต่อสอง ~หากทั้ง 2 ฝ่ายปรับความเข้าใจกันได้  ~ความขมขื่นใจก็ยุติลง
  • ข) เราไปหาเขาอีกครั้งพร้อมพยานที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ~หากทั้ง 2 ฝ่ายคืนดีกันได้          ~ความขมขื่นใจก็ยุติลง
  • ค) เราไปหาเขาหรือเชิญเขาพบปะกันครั้งที่ 3 ท่ามกลางผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีสิทธิอำนาจในการตัดสินความ   ~หากทั้งฝ่ายปรับความเข้าใจคืนดีกันได้  ~ความขมขื่นใจก็ยุติลง
  • ง) เราต้องทำใจยอมรับผล หากว่าอีกฝ่ายไม่ยอมคืนดี แม้คณะผู้ใหญ่รับฟังและพยายามไกล่เกลี่ยแล้วก็ตาม ~ให้ความขมขื่นใจในส่วนของเรายุติ แต่ส่วนตัวของเขาจะยังขมขื่นต่อไป เราก็คงต้องปล่อยเป็นไปเช่นนั้น เพราะเราได้ทำจนสุดกำลังแล้ว(โดยไม่ต้องมีความรู้สึกผิดฟ้องแต่อย่างใด)   ~จบความขมขื่นใจลง

 

  • 4.ขั้นที่สี่ หากเรายังไม่ท้อใจและต้องการก้าวสูงขึ้นไปอีกในการช่วยกำจัดความขมขื่นใจของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ให้  ก.เราอธิษฐานขอพระเจ้าประทานใจที่ถ่อม ใจที่กล้าหาญ และใจที่ให้อภัยอย่างไม่มีเงื่อนไขแก่เราและแก่เขา ข.เราประเมินท่าที และวิถีที่เราปฏิบัติหรือ วิธีที่เราสื่อสารกับคู่กรณีของเรา และปรับปรุงแก้ไข หาวิธีที่ดีกว่าเดิมในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกัน

          ก).อะไรที่ส่งผลลบ ตัดทิ้งไปไม่ทำอีก
          ข).อะไรที่ส่งผลบวก มีคุณค่า มีประโยชน์ ก็นำมาปฏิบัติใช้ต่อ และพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น
          ค).เราเริ่มต้นสร้างมิตรภาพกับคู่กรณีเก่าของเราโดยพึ่งสติปัญญาและความรักเมตตาของพระเจ้าอย่างจริงใจ (ภายใต้การทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์)จนกว่า สภาวะความเป็นปรปักษ์ต่อกันจะกลายเป็นมิตรภาพใหม่สดที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า  ~จบความขมขื่นใจ ของทั้ง 2 ฝ่าย และเป็นจุดเริ่มต้นของความสุขใจ ที่ไม่ที่อะไรมาเทียบเทียมได้!

  • 3.ถ้าความขมขื่นใจเกิดมาจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุ ก็ 
  1. ให้เราพึ่งพระคุณของพระเจ้า ในการเผชิญกับทุกสภาวการณ์ โดยไม่ให้มีรากขมขื่นงอกขึ้นมา -ฮบ12:15 และวางใจในพระองค์สำหรับผลลัพธ์ที่จะตามมา
  2. ให้ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะถ้าพระเจ้านำ หรืออนุญาตให้เราเผชิญกับเรื่องยุ่งยากน่าขมขื่นใจ แสดงว่า นั่นเป็นวิถีทางสู่พระพรที่มากขึ้น    ~ยก1:2-4
  3. ให้ยึดพระเจ้าเป็นกำลังใจของเราในทุกสถานการณ์  ~สดด.73:26
  4. ให้วางใจว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเราในกำหนดเวลาที่พระองค์ทรงกำหนด ~2พกษ14:26-27
  5. ให้เราวางใจพระเจ้าโดยถือว่าเป็นงานที่พระเจ้ามอบหมายให้เราทำ ~ยน.6:29
  6. ให้เราวางใจในพระเจ้าอย่างไม่หวั่นไหวสำหรับผลลัพธ์ที่ดีที่จะตามมา  ~สดด.56:4 –    สดด.56:11  ~รม8:28   ~แล้วเราจะจบความขมขื่นใจ ในชีวิตของเราลงได้อย่างสิ้นเชิง!

 

ธงชัย ประดับชนานุรัตน์-

twitter.com/thongchaibsc, facebook.com/thongchaibsc, twitter.com/lifeanswer, facebook.com/lifeanswer

(Cr. ภาพ publicdomainpictures.net)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.