Categories
บทความ โดย ศจ. ธงชัย

อีสเตอร์คืออะไร? และตรงกับวันไหน?

อีสเตอร์คืออะไร?  และตรงกับวันไหน?

 “พระ‍เยซู​ตรัส​กับ​นาง​ว่า “เรา​เป็น​ชีวิต​และ​การ​เป็น​ขึ้น​จาก​ตายคน​ที่​วาง‍ใจ​ใน​เรา​จะ​มี​ชีวิต​อีก​แม้‍ว่า​เขา​จะ​ตาย​ไป และ​ทุก‍คน​ที่​มี​ชีวิต​และ​วาง‍ใจ​ใน​เรา​จะ​ไม่​ตาย​เลย   เธอ​เชื่อ​อย่าง‍นี้​ไหม?” (ยอห์น 11:25-26)

Jesus said to her, “I am the resurrection and the life. Whoever believes in me, though he die,  yet shall he live, and everyone who lives and believes in me shall never die.  Do you believe this?”  (John 11:25-26)

อีสเตอร์ เป็นเรื่องราวของชัยชนะเหนือความตาย ความบาป และความชั่ว

อีสเตอร์ เป็นวันที่บอกเรื่องราวของข่าวดีที่ยิ่งใหญ่  เพราะแสงสว่างชนะความมืดมิด ความดี ชนะความชั่ว  การเป็นขึ้นจากตาย ชนะความตาย  และความหวัง ชนะความสิ้นหวัง

ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่พระเยซูคริสต์เจ้าทรงเป็นขึ้นจากตาย หลังจากที่ได้ทรงรับโทษบาปแทนมนุษย์ทุกคนบนไม้กางเขนแล้ว

กางเขนที่เคยเป็นเครื่องหมายแห่งความทุกข์ทรมาน สิ้นหวัง กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความชื่นชนยินดี มีความหวัง!

กางเขนที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของการดูถูก กลับกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติ สิริ !

อุโมงค์ที่เก็บศพภายใต้การคุ้มกันอย่างเอาจริงเอาจังของทหารโรม กลายเป็นหลักฐานที่ยืนยันการเป็นขึ้นมาจากตายที่สำคัญยิ่ง พระกายของพระคริสต์ที่เป็นขึ้นมาจากความตาย ได้กลับกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งความปราชัยของความมรณา และมารซาตาน พร้อมกับแผนการทั้งหลายของมัน! แม้ว่า วันอีสเตอร์เป็นการเฉลิมฉลองจะเปลี่ยนไปในแต่ละปี เพราะบางแห่งนับกันในระบบจันทรคติ ในขณะที่ปัจจุบันเราใช้ปีปฏิทินตามสุริยคติ

วันอีสเตอร์ เกี่ยวข้องกับ ดวงจันทร์วันเพ็ญ (พระจันทร์เต็มดวง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันอีสเตอร์จะฉลองกันในวันอาทิตย์แรกหลังจากวันปัสกาที่พระจันทร์เต็มดวง หรือหลังจากวันที่เรียกว่า Vernal Equinox”  ภาษาไทยแปลว่า “วสันตวิษวัต” หมายถึง วันที่มีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน  (เพราะวิษุวัต (equinox) หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรรอบเส้นศูนย์สูตร ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในราว วันที่21 มีนาคม (vernal equinox) กับวันที่ 22 กันยายน (autumnal equinox) ) ซึ่งกำหนดว่า เป็นวันที่เริ่มต้นจากวันที่ 21 มีนาคม เป็นต้นไป (เป็นวันเข้าฤดูใบไม้ผลิ)

ดังนั้น วันอีสเตอร์จะอยู่ในช่วง ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 25 เมษายน 

แต่คริสตจักร ออร์ธอด็อกซ์ ทางตะวันออกจำนวนมาก (ที่ยึดตามปฏิทินของ Julian Calendar) จะเฉลิมฉลองในช่วงใดก็ได้ ระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 8 พฤษภาคม

ตัวอย่าง เปรียบเทียบเวลาอีสเตอร์ทั่วไปกับอีสเตอร์ของคริสตจักร ออร์ธอด็อกซ์ตะวันออก

ปี

วันอาทิตย์อีสเตอร์

(ตามปฏิทินปัจจุบันของ

Gregorian Calendar)

อีสเตอร์ตามปฏิทินคริสตจักร

ออร์ธอด็อกซ์ ตะวันออก

(ตามปฏิทิน The Julian Calendar)

2017 16 เมษายน 16 เมษายน
2018 1 เมษายน 8 เมษายน
2019 21 เมษายน 28 เมษายน

 

แล้วไข่มาเกี่ยวข้องกับอีสเตอร์ได้อย่างไร?      ไข่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่

พระเยซูถูกตรึงตาย เอาไปฝังไว้ในอุโมงค์ แบบเดียวกัน ไข่ภายในเปลือกไข่ …  นิ่งเงียบสงบ จนถึงวันที่พระองค์เป็นขึ้นจากตาย เสด็จออกมาจากอุโมงค์ ด้วยชัยชนะดุจเดียวกับที่ไก่จะออกจากไข่มา  กลายเป็นสัญลักษณ์ ของชีวิตใหม่!

ส่วนกระต่าย ล่ะ มาจากไหน?

กระต่าย (the hare) นั้นเป็นสัญลักษณ์ แห่งความอุดมสมบูรณ์ (fertility) ของชาวอียิปต์  เลยถูกนำใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง

อีสเตอร์ จึงเป็นเครื่องหมายแห่งการเจริญเติบโต อันรุ่งเรืองยิ่ง (ดุจเดียวกับธรรมชาติที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวที่ดูสิ้นหวัง กลายเป็นช่วงเวลาฤดูใบไม้ผลิที่มวลแมกไม้ผลิดอกออกบานกันอย่างเริงรื่น อีสเตอร์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังใจที่ให้ความหวัง (ใหม่) แห่งชีวิตแก่มวลมนุษย์

ส่วนนามว่า “อีสเตอร์” นั้น เข้าใจกันมาจากนามของ เทพเทวี (goddess) นาม “อีสเตอร” (Eostre) ซึ่งเป็นเทพแห่งฤดูใบไม้ผลิที่ชาวแองโกลแซกซอนบูชา (ที่เชื่อกันว่า คำว่า “Easter” นี้มาจากคำที่มีความหมายว่า “rising” (เป็นขึ้น) , dawn ( รุ่งอรุณ)  หรือ “east” (ตะวันออก) )

แล้วพระคัมภีร์ล่ะ กล่าวถึงอีสเตอร์อย่างไร?

ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ King James Bible กล่าวถึงคำว่า Easter” นี้ใน พระธรรม กิจการ 12:1-4 ที่ในฉบับภาษาไทย เราใช้คำ “เทศกาลปัสกา” (the Passover) แต่แท้จริงแล้ว ในพระคัมภีร์มักนิยมใช้คำว่า “บัพติศมา” (Baptism) ไม่ใช่ Easter เป็นสัญลักษณ์ของ การตาย การถูกฝังและการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซูคริสต์

ดังปรากฏใน โรม 6:3-5

“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ไม่​รู้​หรือ​ว่าเรา​ผู้​ที่​ได้​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​เข้า​ใน​พระ‍เยซู‍คริสต์ก็​ได้​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​นั้น​เข้า​ใน​การ​ตาย​ของ​พระ‍องค์? เพราะ‍ฉะนั้น เรา​จึง​ถูก​ฝัง​ไว้​กับ​พระ‍องค์​แล้ว โดย​การ​รับ​บัพ‌ติศ‌มา​เข้า​ใน​การ​ตาย​นั้น เพื่อ​ว่า​เมื่อ​พระ‍บิดา​ทรง​ให้​พระ‍คริสต์​เป็น​ขึ้น​มา​จาก​ตาย​โดย​พระ‍สิริ​ของ​พระ‍องค์​แล้ว เรา​ก็​จะ​ได้​ดำ‌เนิน​ตาม​ชีวิต​ใหม่​ด้วย​เหมือน‍กัน เพราะ‍ว่า​ถ้า​เรา​เข้า​สนิท​กับ​พระ‍องค์​แล้ว​ใน​การ​ตาย​อย่าง​พระ‍องค์ เราก็จะเข้าสนิทกับพระองค์ในการเป็นขึ้นจากตายอย่างพระองค์”

คริสเตียนไม่ได้ฉลองอีสเตอร์เป็นพิธีกรรม เฉพาะวันอาทิตย์อีสเตอร์ แบบครบรอบปีละ 1 ครั้ง     

ความหมายที่แท้จริงของอีสเตอร์ คือการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซูคริสต์ กลายเป็นความเป็นจริงในชีวิตของเราทุกวัน  ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอย่างมีชัยชนะ  ดังนั้น การตายและการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซูจึงเป็นความหวังประจำวัน ที่สำแดงถึงความปรารถนาดีในพระทัยของพระเจ้า การมีชัยชนะเหนือความชั่วร้าย ความจริงที่มีชัยเหนือความมุสา และความรัก ที่พิชิตความบาป

ดังนั้น ขอให้เรามาร่วมใจเฉลิมฉลอง และประกาศข่าวดีแห่งความมีชัยในวันอีสเตอร์นี้ให้แก่คนทั้งปวงกันทุกวันเลย 

…จะดีไหม?

 

-ธงชัย ประดับชนานุรัตน์-

twitter.com/thongchaibsc, facebook.com/thongchaibsc, twitter.com/

lifeanswer, facebook.com/lifeanswer

(Cr. ภาพ Christian today)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.