Categories
วันนี้ที่ CJ

นำด้วยความหวัง

P-NU-NAสวัสดีค่ะพี่น้อง CJ ที่ร้าก… (26 พฤศจิกายน 2009)

กลับมาอีกแล้วตามคำเรียกร้อง เมื่อวานได้อ่านบทความหนึ่งที่ดีมากๆ ได้ แบ่งปันให้พี่ปิ๊กกับลูกมีมี่ฟัง ทั้งสองคนเห็นว่าน่าจะ แบ่งปันให้คนอื่นๆ ฟังด้วย บทความนี้เขียนโดย Dr. John Ortberg ในนิตยสารของ Eagle Communications ชื่อว่า Leading with Hope (นำด้วยความหวัง)

การจะนำคนอื่นได้ ตัวเราเองต้องมีความหวังก่อน ในทุกองค์กร ทุกครอบครัว ทุกหน่วยงานต้องมีความหวัง…ความหวังทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะทำสิ่งต่างๆ เราสามารถมอบหมายสิ่งอื่นๆ ได้ (delegate) แต่มีสิ่งหนึ่งที่เรามอบหมายให้ใครไม่ได้ คือความหวัง ผู้ที่ตามเรา ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกๆ ลูกน้อง หรือสมาชิกคริสตจักร ต้องการที่จะรู้ว่าผู้นำของเขามีทัศนคติที่สำคัญคือ “มีความหวังที่จับต้องได้หรือไม่?”

ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ที่จะตรวจเช็คระดับของความหวังของเรา (Hope detection) เพื่อจะรู้แต่เนิ่นๆว่าระดับความหวังของเราอยู่ตรงไหนในระบบตรวจสอบความหวัง ตัวชี้วัดความหวังของเราอันหนึ่งคือ ความรู้สึกที่เราตื่นขึ้นมาเผชิญกับวันใหม่ในตอนเช้า ในแง่จิตวิทยาบอกว่าช่วงเช้า เป็นช่วงเวลาที่ความวิตกกังวล (anxiety) กับความรู้สึกซึมเศร้า (depression) จะแผลงฤทธิ์มากที่สุด…และนั่นก็คงเป็นเหตุผลว่าทำไมพระคัมภีร์จึงเขียนไว้ว่า ความรักและความหวังของพระเจ้าใหม่เสมอทุกเวลาเช้า

ความรักมั่นคงของพระเจ้าไม่เคยหยุดยั้ง และพระเมตตาของพระเจ้าไม่มีที่สิ้นสุด เป็นของใหม่อยู่ทุกเวลาเช้า..

.พระเจ้าทรงเป็นส่วนของข้าพเจ้า เหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจะหวังในพระองค์” (บทเพลงคร่ำครวญ 3:22-24)

วันไหนที่เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกว่างานที่ต้องทำในวันนี้ช่างท่วมท้นซะจริงๆ เราก็รู้ได้เลยว่าความหวังของเรากำลังลดระดับลงต่ำ ตัวชี้วัดอีกอันหนึ่งคือ เวลาแห่งการฟื้นตัว (Recovery time) เวลาที่เรารู้ตัวว่า ต้องมีเบรกกับงานได้แล้ว และก็ลาไปพักร้อน พักผ่อน แต่พอกลับมากลับรู้สึกเหมือนเดิมเล้ย…….ทั้งๆที่ได้ไปพักผ่อนเป็นอาทิตย์แล้ว ก็ยังไม่สามารถชาร์ทไฟแบทเตอรี่ในตัวได้ จึงควรรู้ตัวว่าความหวังของเรากำลังจะมอดแล้ว

เวลาที่ความหวังของเราเต็มถัง เราจะมีพลังงานสำหรับกิจกรรมอื่นๆนอกจากปกติ แต่เวลาที่ความหวังของเราลดระดับลงต่ำ การทำอะไรใหม่ๆ จะทำให้เรารู้สึกไม่มีกระจิตกระใจ ไม่ต่างจากน้ำที่ถูกเททิ้งลงท่อ ซู่ ซู่..ๆ

ตัววัดอีกอันคือ ความอ่อนไหวในอารมณ์ของเราในทุกๆ ความสัมพันธ์ ในช่วงที่ความหวังมีระดับน้อยนิด เราจะมีความอ่อนไหวมาก ใครพูดอะไรนิดหน่อยก็น้ำตาคลอแล้ว…..ฮือ ฮือ แง แง

ทีนี้พอเรารู้ระดับความหวังของเรา เราก็ต้องเรียนรู้ว่าควรจะจัดการกับความหวังของเราอย่างไร เพิ่มได้อย่างไร กันไม่ให้รั่วไหลอย่างไร จะไปหาเติมได้ที่ไหน (Hope Management) เราต้องเรียนรู้ที่จะจัดลำดับชีวิต (rearrange) ให้สามารถเติมเต็มความหวังได้อยู่เสมอ…..วันนี้เขียนเท่านี้ก่อนนะคะ พบกันครั้งหน้าสำหรับ Hope Management  (การบริหารความหวัง) โปรดติดตามตอนต่อไป (ด้วยความ…..ระทึกใจ)

(CJ หนูนา สุวรรณา อัครพงศ์พิศักดิ์)

ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ขอบคุณค่ะคุณครูหนูนา  ได้ข้อคิดมาทบทวนเยอะทีเดียว และต้องกลับมาวัดดูระดับความหวังของตัวเองโดยด่วน ก่อนจะดิ่งลง…..รออ่านตอนหน้าอยู่นะคะ
  • สำหรับทุกคนที่กำลังเหนื่อย ท้อ ล้า ผิดหวัง  – อย่าลืมว่าพระเจ้าเป็นแหล่งแห่งความหวังและกำลังใจ อธิษฐานทูลขอจากพระองค์ได้ อย่าให้ความบาปรอบตัวที่มันพอกพูนขึ้น บดบังความหวังเราจนริบหรี่มองไม่เห็นพระเจ้า
  • และอย่าลืมมาเรียนพระคัมภีร์ 1ซามูเอล 28 เพื่อเสริมพลังด้วยกันคืนนี้นะคะ – แล้วพบกันค่ะ

8 replies on “นำด้วยความหวัง”

พี่หนูนาแล้วเวลาดูหนังซึ้งๆๆแล้วน้ำตาคลอนี่หละ นับระดับความหวังยังไง ความหวังลดน้อยด้วยป่ะ

ขอบคุณพี่หนูนามากเลยครับ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกันครับว่าตอนนี้ ความหวังมันน้อยลงจริงๆด้วย

Hope management ผมพึ่งได้ยินเป้นครั้งแรกครับ ชอบมากๆเลยครับ
สงสัยต้องให้พระเจ้าเติมความหวังให้ซะแล้ว

เมษ์ – น้องๆทีมนมัสการ และทีมนับเงินเขาจะยกขบวนไปพักผ่อนที่เชียงใหม่จากหลังวันคริสตมาสยาวไปจนถึงปีใหม่ นำขบวนโดยคุณพี่หนูนาจ้ะ คิดถึง นัดแนะไปเยี่ยมเยียนกันได้เลย เห็นว่าเตรียมโปรแกรมสนุกๆไปทำกันเพียบ – อยากได้อะไรรีบบอกด่วน…ได้ทีแล้วววว

ในเวลา ของพระเจ้า แม้จะรู้สึกว่า ไม่มีที่จะหวัง ก็ ผิดสำหรับผม เมื่อมองที่ พระเยซูบนกางเขน พรุ่งนี้พระเจ้าก็ทรงพระชน ผมก็เห็นความหัวงใจจากพระองค์ที่ จะสู้ กับทุกสิ่งไม่ว่า ตอนนี้ แทบจะไม่มีอะไรให้หวัง แต่ ดี ที่ รู้ว่า เราลืมวัด ความหัวงที่ เราได้รับจากพระองค์ ในชีวิตนรัดร ในสวรรค์กับพระเจ้า ขอพระเจ้าเติมความหวังให้ผมใหม่ด้วย ทุกวันนะครับ
ขอบคุณครับ พี่หนูนา
โดม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.