Categories
บทความ โดย ศจ. ธงชัย

ความหมายและความสำคัญของวันอีสเตอร์

วันฟื้นคืนพระชนม์

คำว่า “อีสเตอร์” มีความหมายแตกต่างกันในพจนานุกรม ตัวอย่างเช่น

ใน The American Heritage Dictionary of the English language   ให้ความหมาย “อีสเตอร์” ว่า …

“เทศกาลในคริสตศาสนจักร เพื่อระลึกถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ เฉลิมฉลองกันในวันอาทิตย์แรกที่ตามหลังคืนวันเพ็ญที่เกิดขึ้น ในวันที่ 21 มีนาคม หรือ ถัดไปจากนั้น”

             A new English Thai Dictionary ,ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม     ให้นิยาม “อีสเตอร์” ว่า …

“เทศกาลอีสเตอร์ของคริสตศาสนา เป็นวันระลึกถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซู ตรงกับวันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญภายหลังวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี”

             Oxford, Advanced Learner’s Encyclopedic Dictionary ให้ความหมาย “อีสเตอร์” ว่า …

“เทศกาลประจำปีของคริสตชนที่สำคัญที่สุด ตรงกับวันอาทิตย์ในเดือนมีนาคม หรือ เมษายน และเป็นการเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ ของพระคริสต์ภายหลังจากถูกตรึงตายบนไม้กางเขน”

ใน The New Webster’s International Encyclopedia, Michael D.Harkavy ให้รายละเอียดของ “อีสเตอร์” ไว้มาก ขึ้นว่า หมายถึง

“เทศกาลหลักประจำปีของคริสตศาสนจักรเพื่อเฉลิมฉลองการเป็นขึ้นมาจากความตายขององค์พระเยซูคริสต์ เชื่อมโยงกับฤดูใบไม้ผลิ และเคียงคู่ไปกับเทศกาลปัสกาของชาวยิว อีสเตอร์ได้รับการรับรอง โดยคริสตศาสนจักรตะวันตก ตั้งแต่การประชุมสภาไนเซีย (ปี ค.ศ. 325) และถือปฏิบัติ กันในวันอาทิตย์หลังจากคืนวันเพ็ญแรก ที่ตามหลังวัน “วสันตวิษุสวัต” (the vernal equinox) แต่สำหรับคริสตศาสนจักรตะวันออกจะเฉลิมฉลองภายหลังจากนั้น”

และที่เอ่ยถึงชื่อ “อีสเตอร์” เลย มีอยู่ใน Chambers Dictionary of Etymology, Robert K. Barnhar) ที่ให้ความหมาย “อีสเตอร์” ว่า…

“พิธีเฉลิมฉลองระลึกถึงการเป็นขึ้นจากตายของพระคริสต์” ตรงกับเทศกาลปัสกาของชาวยิว โดยใช้ชื่อว่า “Easter” (ภาษาอังกฤษยุคกลางใช้คำว่า Esterne , Ester) ตามที่ได้บันทึกไว้ก่อนปี ค.ศ. 1387 นามว่า Easter นี้พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า “Eastre” (ก่อน ปีค.ศ. 899) ดั้งเดิมแล้ว Eastre นั้นเป็นชื่อเทพสตรีของชาว เยอรมัน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองระลึกถึงเธอในตอนฤดูใบไม้ผลิที่เรียกว่า “วสันตวิษุสวัต” คำภาษาอังกฤษโบราณนี้มีรากศัพท์เดียวกันกับคำเยอรมันโบราณชั้นสูงว่า “OstarUn” รูปพหูพจน์คือ Easter (เยอรมัน สมัยใหม่ใช้คำว่า Ostern) คำว่า eastre นี้มี รากเหง้าจากคำว่า “east” ที่แปลว่า “ตะวันออก” ที่บ่งชี้ถึง “เทพธิดาแห่งรุ่งอรุณ” (the goddess of dawn) ที่ตรงกับเทพสตรีของชาวโรมที่มีนามว่า “AurOra” และ เทพเจ้าหญิงของชาวกรีกนามว่า “s”

สำหรับคริสเตียนแล้ว วันอีสเตอร์นี้สำคัญต่อจิตวิญญาณคนทั้งโลก !

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คริสเตียนที่รักในการประกาศข่าวดีแห่งความรอดนี้ จะไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปในชีวิตของพวกเขา โดยไม่บอกข่าวดีนี้แก่คนรอบตัวของเขาเป็นอันขาด

ดังนั้น ดร.บิลลี่ เกรแฮม นักเทศน์ ที่โด่งดังที่สุดในโลกเคยกล่าวว่า …

“ถ้าพระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์และยังอยู่ในอุโมงค์ฝังศพ

            ข้าพเจ้าคงไม่ทุ่มเทชีวิตและเสียเวลาประกาศข่าวดี

           เรื่องการไถ่บาปของพระองค์

           แต่เพราะพระองค์ทรงคืนพระชนม์และมีพระมหาบัญชา

           ให้ข้าพเจ้าออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้ได้รับความรอดพ้นบาป

            และเป็นสาวกของพระองค์ เพราะเหตุนี้ …

          ข้าพเจ้าจึงอุทิศชีวิตรับใช้พระองค์

หากว่า วันนี้ คุณและคริสตจักรของคุณให้ความสำคัญกับการประกาศข่าวดีแห่งวันอีสเตอร์นี้แก่ญาติมิตร หรือคนร่วมพิภพนี้ของคุณ ก็แสดงว่า คุณตระหนักถึงความสำคัญอย่างเร่งด่วนของการช่วยกู้จิตวิญญาณของคนเหล่านั้น

แต่หากคุณนั่งเฉย ไม่กระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีนี้ ก็อาจมีเหตุผลหลัก 3 ประการดังนี้

  1. คุณไม่รู้หรือไม่เคยได้ยินเรื่องวันอีสเตอร์นี้มาก่อนเลย
  2. คุณเคยได้ยินเรื่องนี้มาแต่ไม่ค่อยเข้าใจ จึงไม่เห็นความสำคัญเร่งด่วนนั้น
  3. คุณรู้เรื่องนี้ แต่คุณคิดว่าตัวของคุณหรือเรื่องของคุณมีความสำคัญมากกว่า คุณจึงไม่มีเวลาหรือไม่มีใจไปประกาศข่าวนี้ต่อผู้ใด

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ผมขอแนะนำว่า คุณจงทำตัวของคุณให้แน่ใจว่า คุณได้รู้และเข้าใจในความหมายของวันอีสเตอร์นี้แล้ว

คุณพร้อมที่จะรับด้วยความเชื่อและเชื่อฟังในการบอกข่าวสำคัญนี้ออกไป อย่างกระตือรือร้น ซึ่งจะปลอดภัยและดีกับทุกคน!

จริงไหมครับ?

ธงชัย ประดับชนานุรัตน์-

twitter.com/thongchaibsc, facebook.com/thongchaibsc, twitter.com/lifeanswer, facebook.com/lifeanswer

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.