สารพัดอนิจจัง
พระธรรม ปัญญาจารย์ 1:1-18
อ้างอิง ปญจ.1:1,12;2:3,11-12,16,26,3:10,15-17;7:13,23,27;8:10;12:8,12;สดด.39:5-6;19:5-6;88:12; สภษ.27:20;ยรม.45:3
บทนำ อนิจจัง เหนื่อยอ่อน กินลมกินแล้ง ทุกข์ระทม และเศร้าโศก นี่คือ ปรากฏการณ์จริงของชีวิตบนโลกนี้ แต่หากชีวิตของเรามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างถูกต้อง และใกล้ชิดสนิทสนม มุมมองและชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง!
บทเรียน
1:1 “ถ้อยคำของปัญญาจารย์ ผู้เป็นเชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม”
(The words of the Preacher, the son of David, king in Jerusalem.)
1:2 “ปัญญาจารย์กล่าวว่า อนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง สารพัดอนิจจัง”
(Vanity of vanities, says the Preacher, vanity of vanities! All is vanity.)
1:3 “มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากการตรากตรำทุกอย่างของเขา ซึ่งเขาตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์นั้น”
(What does man gain by all the toil at which he toils under the sun?)
1:4 “คนรุ่นหนึ่งจากไป และคนอีกรุ่นหนึ่งก็มา แต่แผ่นดินโลกยังคงเดิมอยู่เป็นนิตย์”
(A generation goes, and a generation comes, but the earth remains forever.)
1:5 “ดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตก แล้วกระหืดกระหอบไปถึงที่ซึ่งขึ้นมานั้นอีก”
(The sun rises, and the sun goes down, and hastens to the place where it rises.)
1:6 “ลมพัดไปทางใต้ แล้วเวียนกลับไปทางเหนือ ลมพัดเวียนไปเวียนมา แล้วลมพัดกลับตามทางเวียนของมัน”
( The wind blows to the south and goes around to the north; around and around goes the wind, and on its circuits the wind returns.)
1:7 “แม่น้ำทุกสายไหลไปสู่ทะเล แต่ทะเลก็ไม่เต็มแม่น้ำไหลไปสู่ที่ใดก็ไหลไปสู่ที่นั่นอีก”
(All streams run to the sea, but the sea is not full; to the place where the streams flow, there they flow again.)
1:8 “สารพัดก็เหนื่อยอ่อนไปกันหมด แต่ละคนก็พูดไม่ออกนัยน์ตาดูก็ไม่อิ่มหรือหูฟังเท่าไรไม่เคยพอใจกับสิ่งที่ได้ยิน”
(All things are full of weariness; a man cannot utter it; the eye is not satisfied with seeing, nor the ear filled with hearing.)
1:9 “สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว ก็จะมีขึ้นอีก สิ่งที่ทำกันแล้ว คือสิ่งที่จะต้องทำกันอีกไม่มีสิ่งใดใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์”
(What has been is what will be, and what has been done is what will be done,and there is nothing new under the sun.)
1:10 “มีสักสิ่งหนึ่งหรือที่ใครจะพูดได้ว่า “ดูซี สิ่งนี้ใหม่”? แต่สิ่งนั้นมีอยู่แล้ว ในสมัยก่อนเราทั้งหลาย”
(Is there a thing of which it is said, “See, this is new”? It has been already in the ages before us.)
1:11 “ไม่มีการจดจำถึงคนสมัยก่อน และไม่มีการจดจำถึงคนสมัยหลังที่จะเกิดมา โดยคนรุ่นต่อมา”
(There is no remembrance of former things, nor will there be any remembrance of later things yet to Be among those who come after.)
1:12 “ข้าพเจ้า ปัญญาจารย์ เคยเป็นกษัตริย์เหนืออิสราเอลในกรุงเยรูซาเล็ม
(I the Preacher have been king over Israel in Jerusalem.)
1:13 “และด้วยสติปัญญา ข้าพเจ้าตั้งใจค้นคว้าและตรวจสอบทุกสิ่งที่ทำกันภายใต้ฟ้าสวรรค์ และพบว่าพระเจ้าประทาน ภารกิจที่ยากลำบากให้มนุษย์ทำ เพื่อพวกเขาจะสาละวนกับสิ่งที่ทำ”
(And I applied my heart to seek and to search out by wisdom all that is done under heaven. It is n unhappy business that God has given to the children of man to be busy with.)
1:14 “ข้าพเจ้าเคยเห็นการงานทั้งปวงซึ่งเขากระทำกันภายใต้ดวงอาทิตย์ และดูเถิด สารพัดก็อนิจจังคือกินลมกินแล้ง”
(I have seen everything that is done under the sun, and behold, all is vanity and a striving after wind.)
1:15 “อะไรที่คดจะทำให้ตรงไม่ได้ และอะไรที่ขาดอยู่จะนับให้ครบไม่ได้”
( What is crooked cannot be made straight, and what is lacking cannot be counted.)
1:16 “ข้าพเจ้ารำพึงว่า “ดูซิ ข้าพเจ้ามีสติปัญญามากยิ่ง มากกว่าทุกคนที่ครองอยู่เหนือกรุงเยรูซาเล็มก่อนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าเจนจัดในสติปัญญาและความรู้อย่างยิ่ง”
(I said in my heart, “I have acquired great wisdom, surpassing all who were over Jerusalem before me, and my heart has had great experience of wisdom and knowledge.” )
1:17 “ข้าพเจ้าก็ตั้งใจเข้าใจสติปัญญา เข้าใจความบ้าบอและความเขลา ข้าพเจ้าค้นพบว่าเรื่องนี้ก็เป็นแต่กินลมกินแล้งด้วย”
(And I applied my heart to know wisdom and to know madness and folly. I perceived that this also is but a striving after wind.)
1:18 “เพราะเมื่อมีสติปัญญามากขึ้น ก็มีความทุกข์ระทมมากขึ้น และบุคคลที่เพิ่มความรู้ก็เพิ่มความเศร้าโศก”
(For in much wisdom is much vexation, and he who increases knowledge increases sorrow.)
ข้อมูลมีประโยชน์
1:1 “ปัญญาจารย์” ( the Preacher) = ผู้ถ่ายทอดความรู้ (12:9)
คำภาษาฮีบรูของคำนี้คือ “โคเฮเลท” มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับ “การชุมนุม” = หน้าที่ของปัญญาจารย์อาจเกี่ยวข้องกับตำแหน่งในชุมนุมชน (12:9-10)
“เชื้อสายของดาวิด” (the son of David) = หมายถึงซาโลมอน
1:2 “อนิจจัง” (vanities) –คำสำคัญนี้ปรากฏราว ๆ 35 ครั้งในพระธรรมปัญญาจารย์นี้ และปรากฏ ในโยบ 27:12, คำ ๆ นี้ในภาษาฮีบรูดั้งเดิมหมายความว่า “ลมหายใจ” (สดด.39:5,11;62:9;144:4)
= ประเด็นหลักของพระธรรมเล่มนี้คือ ทุกอย่างในชีวิตนี้ล้วนอนิจจัง ไม่มีประโยชน์ และสูญเปล่า หากไม่มีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระเจ้า (ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความหมาย) และความอนิจจังนั้นอาจนำไปสู่ความทุกข์หรือสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้
“สารพัด” (All ) = ทุกสิ่ง (ข.8)
= ทุกสิ่งที่มนุษย์กระทำโดยไม่ให้พระเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้อง ล้วนกลายเป็นสิ่งสูญเปล่า
1:3-11 –เป็นการอธิบายของผู้เขียนว่า ความพยายามของมนุษย์ (ที่ปราศจากพระเจ้า) นั้นไร้เป้าหมายที่คู่ควร และไร้ประโยชน์ จึงไร้ความหมายอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “อนิจจัง”
1:3 “ได้ประโยชน์”(gain) หรือ “ได้กำไร”
-ในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูทรงขยายความคำถามนี้ใน มก.8:36-38
“ภายใต้ดวงอาทิตย์” (under the sun) = เป็นวลีที่สำคัญในพระธรรมเล่มนี้ ใช้ถึง 29 ครั้ง สื่อถือ “โลก” และ “ความจำกัดของโลก”
อีกวลีที่ใช้ในความหมายเดียวกันคือ “ภายใต้ฟ้าสวรรค์” (ข.13;2:3;3:1)
1:4-9 -อธิบายว่า การตรากตรำของมนุษย์นั้นไร้ประโยชน์ (ข.3) เพราะมนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกแบบจำเจ ไม่มี
ความก้าวหน้า และไม่มีความหมาย เห็นได้จากความไม่ถาวรของคนในแต่ละรุ่นและในการสืบทอดที่ไม่รู้จบ (ข.4) และในวัฏฎจักรขึ้นลงของดวงอาทิตย์ (ข.5) , ลม (ข.6) และสายน้ำ (ข.7
จนสรุปได้ว่า สารพัดก็เหนื่อยอ่อนไปกันหมด (ข.8) และไม่มีสิ่งใดใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์ (ข.9)
1:4 “แผ่นดินโลกยังคงเดิมอยู่เป็นนิตย์” (the earth remains forever) = ในความหมายว่า ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาเหมือนคนกับสิ่งที่คนทำซึ่งไม่แน่นอน
1:8 “สารพัด” (All things) = ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวถึงในข้อ 4-7
1:10 “สิ่งนี้ใหม่” ( this is new) = หลายอย่างดูเหมือนใหม่ เพราะอดีตถูกกลืนไปอย่างรวดเร็วโดยง่าย และวิถีต่าง ๆ ก็ย้อนกลับมาภายใต้โฉมหน้าใหม่
1:12-18 หลังจากที่ได้ชี้แจงให้เห็นว่า การดิ้นรนทั้งหลายทั้งปวงของมนุษย์ ดูเหมือนอนิจจังไร้ประโยชน์ (ข.3,11)
เวลานี้ผู้เขียนได้ยืนยันว่า ความพยายามของมนุษย์ (ข.12-15 ปท.2:1-11) และการแสวงหาปัญญาของ มนุษย์ (ข.16-18; ปท. 2:12-17) ก็ไร้ความหมายเหมือนเปล่าประโยชน์เช่นกัน
1:12 “ข้าพเจ้า” (I ) -ผู้เขียนเปลี่ยนมาใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 แล้วกลับไปใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 อีกครั้งในบทสรุป (12:9-14)
1:13 “ภายใต้ฟ้าสวรรค์” (under heaven) = ความหมายเดียวกัน “ภายใต้ดวงอาทิตย์” ใน1:3
“พระเจ้า” (God ) = ผู้เขียนใช้คำภาษาฮีบรูเพียงคำเพียงแทนพระเจ้า คือ “เอโลฮีม” ซึ่งใช้ราว 30 ครั้ง เพื่อเน้นความเป็นพระเจ้าผู้ครอบครองสูงสุด (ผู้เขียนไม่ได้ใช้นามของพระเจ้าตามพันธสัญญา คือ “ยาห์เวห์” ที่แปลว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” –ปฐก.2:4; อพย.3:14-15)
1:14 “กินลมกินแล้ง” (a striving after wind)= วิ่งไล่ตามลม เป็นภาพเปรียบเทียบถึงความเปล่าประโยชน์และไร้ความหมาย วลีนี้ใช้ถึง 9 ครั้ง (1:14,17:2;11,17,26;4:4,6,16;6:9)
1:15 “คด…ทำให้ตรงไม่ได้ ขาดอยู่…นับให้ครบไม่ได้” (crooked cannot be made straight, what is lacking cannot be counted) = เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ความพยายามของมนุษย์จึงไร้ความหมาย และหมดหวัง เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ และยอมรับในสถานะในชีวิตที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ (ดังที่ปัญญาจารย์จะแนะนำต่อไป) -ปท.7:13
1:16 “ทุกคนที่ครองอยู่เหนือกรุงเยรูซาเล็มก่อนข้าพเจ้า” (all who were over Jerusalem before me) –ดู 2:7,9- ตัวบ่งชี้ วลีนี้อาจรวมถึงกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่อยู่ก่อนหน้าดาวิด ด้วย อาทิ เมลคีเซเดค (ปฐก.14:18) , อาโดนีเซเดก (ยชว.10:1),อับดีเคปา (กล่าวถึงในจดหมายอามาร์นา จากอียิปต์)
1:18 “มีสติปัญญามากขึ้นก็มีความทุกข์ระทมมากขึ้น…เพิ่มความรู้ก็เพิ่มความเศร้าโศก” (much wisdom is much vexation, and he who increases knowledge increases sorrow.) = ความรู้และปัญญาที่ปราศจากพระเจ้า นำไปสู่ความหดหู่และความทุกข์เศร้าโศกมากยิ่งขึ้น
คำถามนำอภิปราย
- ในพระธรรมปัญญาจารย์ 1:1-18 นี้ มีข้อใดที่สะกิดใจของคุณมากที่สุด? ในเรื่องใด? ทำไม? (แบ่งปัน)
- คุณได้เห็นปรากฏการณ์อะไรในโลกหรือในประเทศไทยนี้ ที่สะท้อนหรือยืนยันความจริงของพระธรรมตอนนี้
ให้คุณเห็นอย่างชัดเจน ? (แบ่งปัน)
- คุณมีประสบการณ์กับ “ความอนิจจัง” อะไรในชีวิตของคุณบ้างที่สอดคล้องกับพระธรรมตอนนี้? อย่างไร?
- การมีประสบการณ์กับ “ความอนิจจัง” (ในข้อ 3) นั้นได้ส่งผลกระทบอะไรต่อชีวิต จิตใจ และจิตวิญญาณของคุณบ้าง? และอย่างไร?
- คุณเคยมีประสบการณ์กับการทุ่มเทเพื่อจะเข้าใจสติปัญญา ความบ้าบอ (บ้าคลั่ง)และความเขลาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย (หรือในโลก) แล้วพบว่าความพยายามเหล่านั้น ไร้ประโยชน์บ้างหรือไม่? ในเรื่องอะไร? และอย่างไร?
- จากบทเรียนวันนี้ ทำให้คุณตั้งใจว่าจะไม่ทำอะไรต่อไปบ้าง?
1) ………………………………………………………………………………………………………………..
2) ………………………………………………………………………………………………………………..
3) ………………………………………………………………………………………………………………..
- จากบทเรียนนี้ ทำให้คุณตั้งใจที่จะทำอะไรต่อไปบ้าง?
1) ……………………………………………………………………………………………………………….
2) ………………………………………………………………………………………………………………..
3) ………………………………………………………………………………………………………………..
- บทเรียนที่ประทับใจของคุณมากที่สุดในวันนี้คือ………………………………………………………….
อย่างไร? ……………………………………………………………………………………………………………….
ทำไม? ………………………………………………………………………………………………………………..
ศจ.ธงชัย ประดับชนานุรัตน์